ทุ่งนาที่เหลืองอร่ามด้วยรวงข้าวสีทองสุดลูกหูลูกตา คือภาพความอุดมสมบูรณ์ในอดีตของย่านที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ แห่งกรุงเทพฯ ที่ในปัจจุบันถูกขนานนามว่า ‘สะพานควาย’ ...ชื่อที่มาจากวิถีชีวิตของชาวนาในอดีตที่ผูกพันกับสัตว์เกษตรกรรมชนิดนี้ จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่หยั่งรากลึกลงในพื้นที่
แต่ก่อนที่จะมาเป็นสะพานควาย บริเวณนี้เคยถูกเรียกว่า ‘ทุ่งศุภราช’ อันเป็นชื่อเรียกที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของย่านที่เพียบพร้อมไปด้วยปัจจัยในการหล่อเลี้ยงทุกชีวิตให้งอกงาม ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ไปจนถึงความสะดวกของการคมนาคมจากถนนสายใหม่ที่พาดผ่านพื้นที่ จนกล่าวได้ว่า ที่นี่คือพื้นที่แห่งการปลูกชีวิตอันรุ่มรวยมาตั้งแต่อดีต
ด้วยวิถีชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ที่ฝังแน่นอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ The Rice จึงยังคงตั้งใจสานต่อวิถีชีวิตการเติบโตอย่างรุ่งโรจน์ ให้ยังคงอยู่บนพื้นที่ทุ่งศภราช หรือสะพานควายในปัจจุบันต่อไป พร้อมทั้งต่อยอดไปสู่วิถีชีวิตแห่งสะพานควายในอนาคตที่มีความงอกงามเป็นรากฐาน และมีผลิตผลเป็นความสำเร็จของทุก ๆ ชีวิต
แต่ก่อนที่จะมาเป็นสะพานควาย บริเวณนี้เคยถูกเรียกว่า ‘ทุ่งศุภราช’ อันเป็นชื่อเรียกที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของย่านที่เพียบพร้อมไปด้วยปัจจัยในการหล่อเลี้ยงทุกชีวิตให้งอกงาม ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ไปจนถึงความสะดวกของการคมนาคมจากถนนสายใหม่ที่พาดผ่านพื้นที่ จนกล่าวได้ว่า ที่นี่คือพื้นที่แห่งการปลูกชีวิตอันรุ่มรวยมาตั้งแต่อดีต
ด้วยวิถีชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ที่ฝังแน่นอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ The Rice จึงยังคงตั้งใจสานต่อวิถีชีวิตการเติบโตอย่างรุ่งโรจน์ ให้ยังคงอยู่บนพื้นที่ทุ่งศภราช หรือสะพานควายในปัจจุบันต่อไป พร้อมทั้งต่อยอดไปสู่วิถีชีวิตแห่งสะพานควายในอนาคตที่มีความงอกงามเป็นรากฐาน และมีผลิตผลเป็นความสำเร็จของทุก ๆ ชีวิต
VISION
Rich Life Cultivate
ชีวิตที่งอกเงยบนโลเคชั่น
อันงอกงาม
ชีวิตที่งอกเงยบนโลเคชั่น
อันงอกงาม
‘ข้าว’ คือพื้นฐานชีวิตของสังคมไทยที่ไม่เพียงมีคุณค่าในฐานะอาหารหลักที่เลี้ยงปากท้องของคนไทยเท่านั้น แต่ ‘ข้าว’ ยังหยั่งรากลึกเป็นฐานรากของสังคมไทย เพราะทุกขั้นตอนกว่าจะมาเป็นเมล็ดข้าวให้ได้เก็บกิน ตั้งแต่การ หว่านเมล็ดพันธุ์ลงบนผืนดิน ช่วงเวลานานแรมปีในการเฝ้ารอต้นข้าวเติบโตไปจนถึงการเก็บเกี่ยว ล้วนก่อเกิด เป็นประเพณีและวิถีชีวิตที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของคนไทย
เพราะเล็งเห็นว่าชีวิตของคนไทยหมุนเวียนไปพร้อมกับการเติบโตของข้าว ยิ่งข้าวงอกงาม ชีวิตคนไทยยิ่ง งอกเงย โครงการ The Rice จึงถูกสร้างขึ้นบนความตั้งใจที่จะเป็นพื้นที่แห่งความหลากหลาย ณ ใจกลาง กรุงเทพฯ ที่เพียบพร้อมด้วยปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างรุ่มรวยของทุกชีวิต รวม ถึงการใส่ใจในทุกช่วงเวลาของทุกกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นที่นี่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เพื่อให้ทุกเมล็ดพันธุ์แห่งความสำเร็จ ได้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนสำเร็จเก็บเกี่ยวได้
เพราะเล็งเห็นว่าชีวิตของคนไทยหมุนเวียนไปพร้อมกับการเติบโตของข้าว ยิ่งข้าวงอกงาม ชีวิตคนไทยยิ่ง งอกเงย โครงการ The Rice จึงถูกสร้างขึ้นบนความตั้งใจที่จะเป็นพื้นที่แห่งความหลากหลาย ณ ใจกลาง กรุงเทพฯ ที่เพียบพร้อมด้วยปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างรุ่มรวยของทุกชีวิต รวม ถึงการใส่ใจในทุกช่วงเวลาของทุกกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นที่นี่ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เพื่อให้ทุกเมล็ดพันธุ์แห่งความสำเร็จ ได้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนสำเร็จเก็บเกี่ยวได้
STORY OF ARCHITECTURE
ศรีศุภราช ความฝันใครให้เป็นจริง
โดย คุณตาวิเชียร กลิ่นสุคนธ์
THE RICE
โดย คุณตาวิเชียร กลิ่นสุคนธ์
THE RICE
รูปลักษณ์ภายนอก
การสร้างอาคารศรีศุภราชตรงหัวมุมสี่แยกสะพานควายใคร่จินตนาการ ให้เป็นทรงแก้วรูปโค้งเด่น 3 ด้านใส ภายในดีไซน์เห็นเป็นเส้นรวงข้าวสีทองประกายอร่าม ค่ำคืนต้องแสงไฟ รวงข้าวเยือกไหวดังต้นข้าวต้องลม
กอรวงข้าวสร้างเฉพาะตรงสี่แยก ติดต่อกับรูปลักษณ์ทุกด้านแล้วแต่สถาปนิกและผู้เป็นเจ้าของจะช่วยกัน ระดมความคิดว่าจะควรเป็นอย่างไรและให้ถูกต้องเทศบัญญัติสร้างได้และให้สูงที่สุด เนื้อที่มากที่สุดที่ เทศบัญญัติให้อนุญาติให้สร้างได้ ขอให้ลูกหลานทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของกันอยู่แล้วระดมสมองอันอัจฉริยะของตน ที่แตกต่างกันให้ร่วมเป็นอณู ให้สถาปนิกรู้จักเจ้าของคือใครต้องการใช้อาคารเพื่อการใดบ้าง สร้างกำเนิดให้ อาคารมีจิตวิญญาณอย่างไร สถาปนิกจะได้นิรมิตความงดงามตามผู้เป็นเจ้าของได้ง่าย รูปทรงตามความฝันเฉพาะของประธาน มุ่งประสงค์ให้อาคารหัวมุมสะพานควายเป็น เอกลักษณ์ที่เหนือกว่าใครทั้ง 4 แยก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
รูปหัวมุมสะพานควายออกเป็นสัญญลักษณ์ รวงข้าวสีทอง สัญญลักษณ์ของ ทุ่งนาศุภราช พื้นที่ปลูกข้าวที่ได้ผลิตผลงอกงามและรสชาติอร่อย อาหารหลักอันโอชะ กินกันประจำวันของชาวเมืองหลวงสยามประเทศ เป็นของขวัญ ของชำร่วยแลกเปลี่ยนกันและเป็นสินค้าค้าขาย ในตลาดและส่งออกเป็นสินค้าที่ให้รายได้สูงสุดของประเทศและปริมาณสุงสุดของโลก ตามคตินิมิตต์ หมายความว่าทุ่งกว้างแห่งพระอินทร์เสด็จแปลงกายทรงหลังวัวศุราช เพื่อเป็นทุ่งศักดิ์สิทธิ์และงดงาม
การสร้างอาคารศรีศุภราชตรงหัวมุมสี่แยกสะพานควายใคร่จินตนาการ ให้เป็นทรงแก้วรูปโค้งเด่น 3 ด้านใส ภายในดีไซน์เห็นเป็นเส้นรวงข้าวสีทองประกายอร่าม ค่ำคืนต้องแสงไฟ รวงข้าวเยือกไหวดังต้นข้าวต้องลม
กอรวงข้าวสร้างเฉพาะตรงสี่แยก ติดต่อกับรูปลักษณ์ทุกด้านแล้วแต่สถาปนิกและผู้เป็นเจ้าของจะช่วยกัน ระดมความคิดว่าจะควรเป็นอย่างไรและให้ถูกต้องเทศบัญญัติสร้างได้และให้สูงที่สุด เนื้อที่มากที่สุดที่ เทศบัญญัติให้อนุญาติให้สร้างได้ ขอให้ลูกหลานทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของกันอยู่แล้วระดมสมองอันอัจฉริยะของตน ที่แตกต่างกันให้ร่วมเป็นอณู ให้สถาปนิกรู้จักเจ้าของคือใครต้องการใช้อาคารเพื่อการใดบ้าง สร้างกำเนิดให้ อาคารมีจิตวิญญาณอย่างไร สถาปนิกจะได้นิรมิตความงดงามตามผู้เป็นเจ้าของได้ง่าย รูปทรงตามความฝันเฉพาะของประธาน มุ่งประสงค์ให้อาคารหัวมุมสะพานควายเป็น เอกลักษณ์ที่เหนือกว่าใครทั้ง 4 แยก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
รูปหัวมุมสะพานควายออกเป็นสัญญลักษณ์ รวงข้าวสีทอง สัญญลักษณ์ของ ทุ่งนาศุภราช พื้นที่ปลูกข้าวที่ได้ผลิตผลงอกงามและรสชาติอร่อย อาหารหลักอันโอชะ กินกันประจำวันของชาวเมืองหลวงสยามประเทศ เป็นของขวัญ ของชำร่วยแลกเปลี่ยนกันและเป็นสินค้าค้าขาย ในตลาดและส่งออกเป็นสินค้าที่ให้รายได้สูงสุดของประเทศและปริมาณสุงสุดของโลก ตามคตินิมิตต์ หมายความว่าทุ่งกว้างแห่งพระอินทร์เสด็จแปลงกายทรงหลังวัวศุราช เพื่อเป็นทุ่งศักดิ์สิทธิ์และงดงาม
SAPHANKWAI
สะพานควายอยู่ไหน
ทุ่งรวงทองอู่ข้าวอู่น้ำอันสมบูรณ์กว้างใหญ่ไพศาลของกรุงเทพมหานคร ไม่มีที่ไหนเกินกว่า “ทุ่งศุภราช” อยู่ทิศเหนือของ “ทุ่งพญาไท” ระหว่างคลองสามเสน กับคลองบางซื่อ มีคลองศุภราชอยู่กึ่งกลาง คลองศุภราชปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ติดกับวัดจันทร์สโมสรหรือโรงเบียร์บุญรอดขณะนี้ กระจายน้ำให้ชาวนาทุ่งศุภราช ทุ่งศุภราชจึงเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ จากกระแสธารทั้งสามปัจจุบันคลองศุภราชได้แปรสภาพเป็น “ซอยศุภราช ซอยเสนาร่วม” กับอีกหลายชื่อและหายไปบางตอน
ในอดีตชาวนาใช้ควายเป็นเครื่องมือในการผลิต “นายฮ้อย” กับชาวนาจึงอยู่คู่กันเสมอ เมื่อถึงฤดูแล้งว่างนา นายฮ้อยจากอิสานก็ต้อนควายมาขายให้ชาวนาเลือกซื้อไว้ทำนา ตัวไหนแก่เกินงานก็รอพ่อค้าโรงเชือดซึ่งอยู่ที่ถนนตกมาซื้อไปฆ่า บริเวณทุ่งว่างชานเมืองข้างคลองบางซื่อด้านใต้ฟากตะวันออกของถนนพหลโยธิน หน้าแล้งจึงเต็มไปด้วยฝูงควายของนายฮ้อย ขณะนั้นฟากตะวันตกของถนนพหลโยธินมีถนนปฏิพัทธ์ตัดมาเชื่อมกับถนนพหลโยธิน มีบ้านเรือนมากแล้ว เนื่องจากข้างถนนพหลโยธินมีคูน้ำส่งน้ำจากคลองบางซื่อขวางสามแยกถนนปฏิพัทธ์ กับ ถนนพหลโยธิน จึงทำสะพานให้ควายเดินข้าม โดยใช้ไม้พาดให้ควายข้ามคูส่งน้ำเข้าถนนปฏิพัทธ์ ต่างก็เรียกขานกันว่า “สะพานควาย” ในธุรกิจซื้อขายควายของนายฮ้อยกับชาวนา และพ่อค้าโรงฆ่าได้ข้ามไปมากันได้สะดวก ขณะนั้นรถยนต์ยังมีน้อย
ในอดีตชาวนาใช้ควายเป็นเครื่องมือในการผลิต “นายฮ้อย” กับชาวนาจึงอยู่คู่กันเสมอ เมื่อถึงฤดูแล้งว่างนา นายฮ้อยจากอิสานก็ต้อนควายมาขายให้ชาวนาเลือกซื้อไว้ทำนา ตัวไหนแก่เกินงานก็รอพ่อค้าโรงเชือดซึ่งอยู่ที่ถนนตกมาซื้อไปฆ่า บริเวณทุ่งว่างชานเมืองข้างคลองบางซื่อด้านใต้ฟากตะวันออกของถนนพหลโยธิน หน้าแล้งจึงเต็มไปด้วยฝูงควายของนายฮ้อย ขณะนั้นฟากตะวันตกของถนนพหลโยธินมีถนนปฏิพัทธ์ตัดมาเชื่อมกับถนนพหลโยธิน มีบ้านเรือนมากแล้ว เนื่องจากข้างถนนพหลโยธินมีคูน้ำส่งน้ำจากคลองบางซื่อขวางสามแยกถนนปฏิพัทธ์ กับ ถนนพหลโยธิน จึงทำสะพานให้ควายเดินข้าม โดยใช้ไม้พาดให้ควายข้ามคูส่งน้ำเข้าถนนปฏิพัทธ์ ต่างก็เรียกขานกันว่า “สะพานควาย” ในธุรกิจซื้อขายควายของนายฮ้อยกับชาวนา และพ่อค้าโรงฆ่าได้ข้ามไปมากันได้สะดวก ขณะนั้นรถยนต์ยังมีน้อย
เมื่อมีบ้านเรือนหนาแน่นมากขึ้น มีรถโดยสาร และรถบรรทุก จำเป็นต้องผ่านถนนปฏิพัทธ์กับถนนพหลโยธิน ไม้พาดคลองส่งน้ำจึงเปลี่ยนเป็นสะพานไม้แทน และต่อมาก็เปลี่ยนเป็นสะพานคอนกรีตถาวร ชื่อ “สะพานควาย” เลยเรียกขานกันจนบัดนี้ ส่วนตึกศรีศุภราชมีที่มาดังนี้ คือกว่า 48 ปีแล้ว ที่คุณวิเชียร กลิ่นสุคนธ์ เจ้าของที่ดินติดสามแยกสะพานควายได้สร้างตลาดขึ้น ใคร่จะเปลี่ยนชื่อสะพานควายเป็นนวัตกรรมใหม่ ได้ปรึกษากับหลวงบุณยมานพ หรือ “แสงทอง” ว่าจะใช้ชื่ออะไรแทนท่านก็คิดชื่อที่มีความหมายเช่นเดียวกัน คือ “ยมพาหนะ” คือควายซึ่งเป็นพาหนะของพระยม นายวิเชียร กลิ่นสุคนธ์เห็นว่าชื่อนี้น่ากลัวกว่าเดิม จึงเพียรพยายามใหม่ไปพบ พลเรือตรีหลวงสุวิญาน อดีต ผอ.รพ.ทหารเรือซึ่งเป็นโหรใหญ่ ท่านก็ศึกษาว่า ทุ่งศุภราช ซึ่งหมายถึงทุ่งโคศุภราช ก็ควรคงนามอันเป็นมงคลนี้ไว้โดยให้ตั้งชื่อตลาดนี้ว่า “ตลาดศรีศุภราช” หรือศรีศุภราชอาเขตมีประวัติจากท้องถิ่นมิให้เลือนหายไป และให้ตำนาน “สะพานควาย” ย่านธุรกิจการเกษตรชานเมืองในอดีตของเขตพญาไท ปรากฏในความทรงจำตลอดไป
จากบันทึกความทรงจาของนายวิเชียร กลิ่นสุคนธ์ อดีตสจ.กรุงเทพมหานคร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา และเจ้าของตลาดศรีศุภราช หรือศรีศุภราชอาเขต นายฮ้อย คือ นายทุนเข้าของต้อนควายขายต่างแดน
จากบันทึกความทรงจาของนายวิเชียร กลิ่นสุคนธ์ อดีตสจ.กรุงเทพมหานคร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา และเจ้าของตลาดศรีศุภราช หรือศรีศุภราชอาเขต นายฮ้อย คือ นายทุนเข้าของต้อนควายขายต่างแดน